อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว
ข้อมูลทั่วไป
น้ำตกทรายขาว เดิมชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกตะโกน มีต้นน้ำเกิดจากยอดเขานางจันทร์ในทิวเขาทรายขาว เทือกเขาสันกาลาคีรี ถูกค้นพบโดยพระครูศรีรัตนากร (ท่านสีแก้ว) เจ้าอาวาสวัดทรายขาว เมื่อปี 2475 อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวมีพื้นที่ครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติเขาใหญ่ ในท้องที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองยะลา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ในท้องที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประกอบด้วยจุดเด่นตามธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงาม สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิดที่ควรแก่การศึกษาหาความรู้เป็น อย่างยิ่ง ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 43,482.00 ไร่ หรือ 69.57 ตารางกิโลเมตร
เดิมกรมป่าไม้ได้จัดตั้งวนอุทยานน้ำตกทรายขาวเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2497 และวนอุทยานโผงโผง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี เนื่องจากวนอุทยานทั้ง 2 แห่ง มีบริเวณอาณาเขตติดต่อกัน กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 1759/2528 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 ให้ นายตระกูล คุณาพัทธิ์ นักวิชาการป่าไม้ 7 หัวหน้าฝ่ายจัดการวนอุทยาน ไปสำรวจหาข้อมูลวนอุทยานทั้ง 2 แห่ง และบริเวณใกล้เคียงเพื่อรวมพื้นที่วนอุทยานทั้ง 2 แห่ง จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และต่อมา นายปรีชา บุญมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี และ นายเกรียงศักดิ์ ศักดิ์คเชนทร์ สมาชิกสภาจังหวัดปัตตานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2530 ถึง พลเอกหาญ ลีลานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนให้รวบรวมวนอุทยานทั้ง 2 แห่ง และขอให้สำรวจบริเวณน้ำตกอรัญวาริน ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันรวมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย
ตามรายงานผลการสำรวจตามหนังสือที่ กษ 0713/005 ลงวันที่ 30 เมษายน 2530 สรุปได้ว่า เห็นสมควรผนวกพื้นที่วนอุทยานทั้ง 2 แห่ง เข้าด้วยกันเนื่องจากอยู่ใกล้กันและเป็นเทือกเขาเดียวกันเหมาะที่จะจัดตั้ง เป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ.0713/508 ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2530 เสนอกรมป่าไม้ โดย นายไพโรจน์ สุวรรณกร รองอธิบดีกรมป่าไม้ ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิบดีกรมป่าไม้ ได้มีบันทึกสั่งการลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2530 ให้กองอุทยานแห่งชาติดำเนินการยกฐานะรวบรวมวนอุทยานทั้ง 2 แห่ง นี้เป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้มีหนังสือด่วนมาก ที่ กษ 0713/950 ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2530 เสนอโดยกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1477/2530 ลง วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2530 ให้ นายอุดม ยกฉวี เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจและจัดตั้งป่าเขาใหญ่ ในท้องที่ตำบลป่าบอน (ปัจจุบันแยกเป็นตำบลช้างให้ตก) ตำบลทรายขาว ตำบลนาประดู่ ตำบลทุ่งพลา ตำบลปากล่อ อำโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และ ป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ในท้องที่ตำบลบ้านโหนด ตำบลเปียน ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
จนกระทั่งปี 2551 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาใหญ่ ในท้องที่ตำบลช้างให้ตก ตำบลทรายขาว ตำบลนาประดู่ ตำบลทุ่งพลา ตำบลปากล่อ อำโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และ ป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ในท้องที่ตำบลบ้านโหนด ตำบลเปียน ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 71 ก ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2551
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ทั้งหมดอยู่บริเวณเทือกเขาสันกา ลาคีรี ซึ่งเป็นเทือกเขายาวที่สลับซับซ้อนติดต่อกันมียอดเขานางจันทร์เป็นยอดเขาที่ สูงที่สุด ส่วนใหญ่พื้นที่จะลาดลงไปทางทิศตะวันตก เป็นที่เนินเขา และเป็นที่ราบ ดินจะเป็นดินเหนียวปนทราย หินเป็นปูนและหินแกรนิต เป็นต้นกำเนิดของห้วยทรายขาว ห้วยโผงโผง ห้วยบอน ห้วยแกแดะ ห้วยลำหยัง ห้วยคลองเรือ ห้วยต้นตะเคียน ห้วยลำชิง ห้วยลำพะยา ฯลฯ ซึ่งลำห้วยลำธารเหล่านี้จะไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำเทพา
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศจะมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน ฤดูฝนอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนมกราคม จะมีฝนตกตลอด แต่จะตกชุกในช่วงเดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม และฤดูร้อนจะอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน อากาศจะไม่ร้อนจัดนัก
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง สยา กระบาก กาลอ หลุมพอ ไข่เขียว สะตอ เหรียง ตะเคียนทอง ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ ระกำ หวาย เฟิน เถาวัลย์ และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เลียงผา หมูป่า เก้ง เม่น กระจง ลิง ค่าง ชะนี อีเห็น กระรอก นกขุนทอง นกกางเขน นกปรอด เหยี่ยว นกดุเหว่า ตะพาบน้ำ งูเหลือม งูเห่า งูกะปะ ตะกวด กบ เขียด กง รวมทั้งกุ้ง ปู และปลาชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในลำห้วยลำธาร
นํ้าตกโผงโผง
ตั้งอยู่ที่ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ที่ ทข.1 (น้ำตกโผงโผง) ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-ยะลา) และต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 409 สายปัตตานี-ยะลา ถึงบ้านปากล่อเลี้ยวขวาไปตามทางลาดยางอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงตัวน้ำตก น้ำตกโผงโผงเป็นน้ำตกที่ไหลลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันไดจำนวน 7 ชั้น ที่ราบชั้นล่างสุดมีแอ่งน้ำตกขนาดใหญ่ มองขึ้นไปยังผาน้ำตกชั้นบนจะมองเห็นน้ำตกไหลลงมาเป็นสายน้ำคดเคี้ยวตาม หน้าผาและโขดหิน พื้นที่บริเวณสองข้างลำธารและบริเวณใกล้ตัวน้ำตกมีความร่มรื่นปกคลุมด้วย พรรณไม้นานาชนิด สภาพร่มรื่นเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน
นํ้าตกอรัญวาริน
ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งพลา น้ำตกแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ชาวบ้านเรียกว่าควนอาศัย ต่อมาทางอำเภอโคกโพธิ์ได้เข้าสำรวจเส้นทางเพื่อก่อสร้างทางเข้าสู่น้ำตกและ ได้ตั้งชื่อน้ำตกแห่งนี้ว่า “น้ำตกอรัญวาริน” ปัจจุบันน้ำตกอรัญวารินกำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดปัตตานี ผาน้ำตกชันบนสุดมีความสูง ประมาณ 30 เมตร มีสายน้ำไหลคดเคี้ยวตามแนวโขดหิน และมีผาน้ำตกลดหลั่นลงมา 6 ชั้น เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจและสัมผัสกลิ่นอายของพรรณไม้นานาชนิดที่ขึ้นใน บริเวณป่าดิบชื้น การเดินทางจากตัวเมืองปัตตานีใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 409 สายปัตตานี-ยะลา ระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร ถึงทางแยกขวามือตรงปากทางเข้าวัดห้วยเงาะ อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงทางแยกขวามือตรงปากทางเข้าวัดห้วยเงาะอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็ถึงตัวน้ำตกอรัญวาริณเป็นน้ำตกในเทือกเขาสันกาลาคีรี ลักษณะน้ำตกแบ่งออกเป็นชั้น ๆ รวม 7 ชั้น แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 300-500 เมตร ซึ่งในแต่ละชั้นมีลักษณะความสวยงามแตกต่างกันออกไป
หาดแฆแฆ
ที่ตั้ง หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี
จุดเด่น ชายหาดซึ่งมีความสวยงามและน่าเที่ยวที่สุดแห่งหนึ่งของปัตตานี ชายหาดโค้งเว้ามีความยาวเป็นระยะทางไกล ทรายมีสีทองละเอียดตัดกับน้ำทะเลสีครามในวันฟ้าใส นอกจากนั้นยังมีโขดหินขนาดใหญ่รูปร่างแปลกตาจำนวนมากที่เกิดขึ้นเอง จึงมีลักษณะคล้ายสวนหินธรรมชาติ ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวท้องถิ่น และต่างถิ่นแวะเวียนมาพักผ่อนเล่นน้ำกันอยู่เสมอ บริเวณชายหาดได้จัดทำเป็นซุ้มศาลาพักร้อน คำว่า “แฆแฆ” เป็นภาษามลายู แปลว่า “อึกทึกครึกโครม”
สถานที่พักแรม บริเวณหาดยังไม่ได้รับการปรับปรุงเป็นจุดแค้มปิ้ง อีกทั้งสามารถเดินทางพักผ่อนได้แบบไปกลับในวันเดียว
การเดินทาง จากตัวเมืองปัตตานีใช้เส้นทางหลวงสาย 42 แล้วแยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 4075 จนถึงสามแยกแล้วเลี้ยวซ้ายสู่ทางหลวงหมายเลข 4061 จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4157 ซึ่งเป็นถนนเลียบชายหาดเป็นระยะทางยาวสวยงามมาก เมื่อถึงกม.ที่ 7-8 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกราว 500 เมตร ถึงชายหาดแฆแฆ ห่างจากตัวเมืองปัตตานีราว 43 กม. หรือจากอำเภอปะนาเระจะมีเส้นทางเลียบหาดยาวไปจนถึงหาดแฆแฆ สภาพเส้นทางสะดวกสบาย
จุดเด่น ชายหาดซึ่งมีความสวยงามและน่าเที่ยวที่สุดแห่งหนึ่งของปัตตานี ชายหาดโค้งเว้ามีความยาวเป็นระยะทางไกล ทรายมีสีทองละเอียดตัดกับน้ำทะเลสีครามในวันฟ้าใส นอกจากนั้นยังมีโขดหินขนาดใหญ่รูปร่างแปลกตาจำนวนมากที่เกิดขึ้นเอง จึงมีลักษณะคล้ายสวนหินธรรมชาติ ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวท้องถิ่น และต่างถิ่นแวะเวียนมาพักผ่อนเล่นน้ำกันอยู่เสมอ บริเวณชายหาดได้จัดทำเป็นซุ้มศาลาพักร้อน คำว่า “แฆแฆ” เป็นภาษามลายู แปลว่า “อึกทึกครึกโครม”
สถานที่พักแรม บริเวณหาดยังไม่ได้รับการปรับปรุงเป็นจุดแค้มปิ้ง อีกทั้งสามารถเดินทางพักผ่อนได้แบบไปกลับในวันเดียว
การเดินทาง จากตัวเมืองปัตตานีใช้เส้นทางหลวงสาย 42 แล้วแยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 4075 จนถึงสามแยกแล้วเลี้ยวซ้ายสู่ทางหลวงหมายเลข 4061 จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4157 ซึ่งเป็นถนนเลียบชายหาดเป็นระยะทางยาวสวยงามมาก เมื่อถึงกม.ที่ 7-8 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกราว 500 เมตร ถึงชายหาดแฆแฆ ห่างจากตัวเมืองปัตตานีราว 43 กม. หรือจากอำเภอปะนาเระจะมีเส้นทางเลียบหาดยาวไปจนถึงหาดแฆแฆ สภาพเส้นทางสะดวกสบาย
หาดราชรักษ์
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต.บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ อยู่ติดกับหาดแฆแฆ ลักษณะเป็นหาดทรายกว้างล้อมรอบด้วยโขดหินกลมมนน้อยใหญ่ มีเนินและหุบเขาเตี้ยๆ สามารถขึ้นไปชมวิวทิวทัศน์ได้อย่างสวยงาม เหมาะสำหรับการพักผ่อนในช่วงเช้าและเย็น
บริเวณนี้ยังไม่มีที่พัก เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมาเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ การเดินทางหากมาจากตัวเมืองปัตตานีหาดราชรักษ์จะอยู่ก่อนถึงหาดแฆแฆ ประมาณ 2 ก.ม.
บริเวณนี้ยังไม่มีที่พัก เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมาเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ การเดินทางหากมาจากตัวเมืองปัตตานีหาดราชรักษ์จะอยู่ก่อนถึงหาดแฆแฆ ประมาณ 2 ก.ม.
หาดวาสุกรี
ที่ตั้ง เขตเทศบาล ตำบลตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
จุดเด่น หาดวาสุกรีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ ปาตาตีมอ ” ลักษณะเป็นหาดทรายกว้าง และขาวสะอาดมีความลาดชันน้อย ทอดตัวเป็นแนวยาวร่มรื่นด้วยทิวสน เหมาะแก่การพักผ่อน เล่นน้ำและประกอบกิจกรรมริมชายหาดตามอัธยาศัย
สถานที่พักแรม สามารถเดินทางมาพักผ่อนแบบไปเช้าเย็นกลับได้ หรือจะพักแรมมีบังกะโลเปิดบริการอยู่บริเวณหาด
การเดินทาง จากตัวเมืองปัตตานีใช้เส้นทางหลวงสาย 42 ระยะทางประมาณ 50 กม. เมื่อถึงอำเภอสายบุรีใช้เส้นทางหลวงเดิมอีก 2 กม. หรือจะขับเลียบชายหาดทางหลวงหมายเลข 4157 ผ่านหาดชลาลัย หาดแฆแฆ ถึงหาดวาสุกรได้เช่นกัน
จุดเด่น หาดวาสุกรีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ ปาตาตีมอ ” ลักษณะเป็นหาดทรายกว้าง และขาวสะอาดมีความลาดชันน้อย ทอดตัวเป็นแนวยาวร่มรื่นด้วยทิวสน เหมาะแก่การพักผ่อน เล่นน้ำและประกอบกิจกรรมริมชายหาดตามอัธยาศัย
สถานที่พักแรม สามารถเดินทางมาพักผ่อนแบบไปเช้าเย็นกลับได้ หรือจะพักแรมมีบังกะโลเปิดบริการอยู่บริเวณหาด
การเดินทาง จากตัวเมืองปัตตานีใช้เส้นทางหลวงสาย 42 ระยะทางประมาณ 50 กม. เมื่อถึงอำเภอสายบุรีใช้เส้นทางหลวงเดิมอีก 2 กม. หรือจะขับเลียบชายหาดทางหลวงหมายเลข 4157 ผ่านหาดชลาลัย หาดแฆแฆ ถึงหาดวาสุกรได้เช่นกัน
หาดตะโละกาโปร์
ที่ตั้ง ต.ตะโล๊ะกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
จุดเด่น หาดทรายทอดตัวยาวขนานไปกับทิวสนร่มรื่น มีสายน้ำพาคลื่นเคลื่อนมากระทบฝั่ง ในวันที่อากาศปลอดโปร่งน้ำทะเลจะมีสีคราม ทรายเป็นสีทองสวยงามมาก เหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ หากเลยไปยังหมู่บ้านประมงจะมีเรือกอและจอดเรียงรายอยู่เป็นทิวแถว ซึ่งชาวบ้านแถบนี้จะพาเรือออกไปทำประมงแล้วนำกลับมา โดยจะลากขึ้นมาเก็บในช่วงเช้าๆ สถานที่พักแรม บริเวณชายหาดยังไม่มีจุดพักแรม
การเดินทางจากตัวเมืองปัตตานี ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 42 ประมาณ 16 กม. จากนั้น จะมีแยกเข้าสู่ชายหาดอีกราว 3 กม. เป็นทางลาดยาง
การเดินทางจากตัวเมืองปัตตานี ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 42 ประมาณ 16 กม. จากนั้น จะมีแยกเข้าสู่ชายหาดอีกราว 3 กม. เป็นทางลาดยาง
แหลมตาชี
แหลมตาชี หรือแหลมโพธิ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลตะโละกาโปร์ ต่อเนื่องไปจนถึงตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง เกิดจากการก่อตัวของสันทรายที่ยื่นออกไปในทะเลในลักษณะจะงอย [Sand Spit] ทำให้เกิดอ่าวปัตตานีด้านในของแหลม ปัจจุบันแหลมโพธิ์ มีความยาวประมาณ ๑๖กิโลเมตร โดยปกติแล้วปลายแหลมงอกเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละประมาณ ๒๐-๔๐เมตร และชายฝั่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อันเนื่องมาจากคลื่นลม และกระแสน้ำชายฝั่งด้านนอกเป็นหาดทรายตลอดแนวจนถึงปลายแหลม มีภูมิทัศน์สวยงาม ส่วนด้านในติดกับอ่าวเป็นที่ตั้งของชุมชนหลายแห่ง เช่น บ้านดาโต๊ะ บ้านตะโละสะมิแลบ้านบูดี ประชากรประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลาดุก ปลากระพงหอยแครง หอยแมลงภู่ ฯลฯ เป็นอาชีพเสริม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น